Vibration Analysis
Introduction
Ratchanant R.
Vibration คือ สภาพทางกลของวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวแบบ กลับไป-มา หรือก็คือ การสั่นสะเทือน ดังนั้น
Vibration analysis คือ การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน โดยการหลักการที่ เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องจักรเสียหาย ชิ้นส่วนนั้นจะส่งสัญญาณสั่นสะเทือนออกมา โดยเราจะโฟกัสไปเฉพาะชิ้นส่วนหมุน การรับรู้การสั่นนั้นมีได้หลายทาง เช่น โดยประสาทสัมผัสทางความรู้สึก ตา และหู เช่น การใช้แท่งเหล็ก แตะไปยังเครื่องจักร ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งไว้ที่หูเราเพื่อฟังเสียงเครื่องจักร เสียงที่ส่งผ่านมาที่หูนั้นแหละ การสั่นสะเทือนที่ผู้ฟังได้รับทั้งเสียงและความรู้สึก โดยปกติผู้ที่จะแยกแยะได้ว่า เครื่องจักรดีหรือเสีย จะต้องมีประสบการณ์อยู่พอสมควร แต่หูของคนเราสามารถรับฟังคลื่นเสียงในช่วง 20-20,000 hz ซึ่งมีข้อจำกัด และหูของคนเราก็ยังมีข้อจำกัดในการแยกแยะว่าเสียงที่ความถี่ต่าง ๆ ว่าความถี่ที่เราได้ยินนั้นเป็นความถี่เท่าไหร่ซึ่งมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร และเราไม่สามารถหามาตรฐาน และไม่สามารถบันทึกประวัติของเครื่องจักร จากการใช้เสียงที่เราได้ยินจากหูมนุษย์ ซึ่งความสามารถในการได้ยิน และแยกแยะนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ สภาพร่างกาย อารมณ์ สิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนมีผลต่อการได้ยินของคนเราทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาบทสรุป ของผลที่ได้จากการได้ยินของคนเรา ถึงแม่ว่าจะใช้แท่งเหล็กระหว่างหูกับเครื่องจักร แต่ก็เป็นเพียงแค่เปลี่ยนตัวกลางในการเดินทางของคลื่นเสียงซึ่ง เดินทางผ่านของแข็งได้ดีกว่าอากาศ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เครื่องมือวัดจึงเป็นสิ่งที่แก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเครื่องมือจะทำหน้าที่เพียงนำการสั่นสะเทือน ที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณ เพื่อให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น แต่การได้มาซึ่งค่าที่เชื่อถือได้ และผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเล่าถึงในตอนหน้าครับ