Maintenance Strategy
part 1
Ratchanant R.
ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้น มีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างเหมาะสมนั้นจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกด้วย สำหรับในบทความตอนนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ในการเป็นพื้นฐานไปสู่การทำ maintenance strategy, asset life cycle และ asset management ที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร ซึ่งหากเราเข้าใจความหมายของการบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่ชัดเจน จะทำให้การจัดการ และการสื่อสารภายในองกรมีความคลาดเคลื่อน สับสนไปด้วย โดยตามหลักการบำรุงรักษา เราจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
-
Breakdown maintenance
-
Preventive maintenance
-
Predictive maintenance
-
Proactive maintenance
ซึ่งการบำรุงรักษาแต่ละแบบมีนิยาม ข้อดี และข้อเสีย ตามด้านล่างนี้ครับ
1. Breakdown maintenance
คือ การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์เสียหาย ใช้งานอีกไม่ได้แล้ว หรือ ใช้งานจนพัง “run to failure” ในที่นี้คือการใช้งานเครื่องจักรโดยที่เราไม่ได้เข้าไปดูแล โดยปกติเหมาะกับเครื่องจักรขนาดเล็ก ที่เมื่อเสียหายแล้วไม่มีผลกับกระบวนการผลิต และค่าซ่อมไม่แพง หรือซื้อตัวใหม่มาใช้คุ้มกว่าซ่อม
ข้อดี
-
ไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร
-
เครื่องจักรไม่พบกับปัญหาบำรุงรักษามากเกินไป
ข้อเสีย
-
เกิดเครื่องจักรเสียหายโดยไม่รู้ล่วงหน้า
-
เสียหายอย่างรุนแรง และการเสียหายอาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนอื่น
-
ค่าซ่อมแพง
-
ไม่สามารถควบคุม และวางแผนการซ่อมได้
2. Preventive maintenance
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ในนิยามปัจจุบันมักจะให้ Preventive maintenance(PM) คือ time based maintenance เพราะเป้าหมายของ PM คือการเปลี่ยนอะไหล่ โดยใช้อายุการใช้งานเป็นเกณฑ์วัด โดยไม่ได้พิจารณาถึงสภาพที่แท้จริงของเครื่องจักร
ข้อดี
-
วางแผนซ่อมบำรุงง่าย
-
เครื่องจักรที่เสียหายแบบไม่คาดคิดควรจะลดลง
-
ดังนั้นความเสียหายต่อเนื่อง และเสียหายอย่างรุนแรง ก็ลดลงด้วย
-
สามารถควบคุมอะไหล่ และค่าใช้จ่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
-
เครื่องจักรต้องหยุดเปลี่ยนชื้นส่วน ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรเสียหาย
-
บางครั้งการซ่อมยังทำให้เครื่องจักรมีปัญหามากกว่าเดิม
-
ยังคงเกิดปัญหาเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดอยู่
-
แผนงานในการซ่อมเป็นแบบเดียวกันสำหรับเครื่องจักรประเภทเดียวกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงตัวแปรอื่น ๆ ประกอบ เช่น สภาพแวดล้อม และภาระการทำงานของเครื่องจักร
3. Predictive Maintenance
การบำรุงรักษาจากสภาพเครื่องจักร หรือ condition base maintenance โดยวิธีการนี้เป็นการบำรุงรักษาโดยใช้สภาพของเครื่องจักรมาเป็นเกณฑ์ในการซ่อมบำรุง เช่น การตรวจระดับน้ำมัน ตรวจสภาพซีลต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะ เช่น เครื่องวัดการสั่นสะเทือน เครื่องมือวัดเสียง ultrasonic กล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นต้น เพื่อช่วยในการตรวจสอบสถาพของเครื่องจักรให้ได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด
ข้อดี
-
ลดการเสียหายแบบไม่คาดคิด
-
ลดการเก็บอะไหล่สำรอง โดยสั่งอะไหล่ เฉพาะเมื่อต้องการ
-
การซ่อมบำรุงเครื่องจักรทำเมื่อจำเป็น
-
ใช้งานเครื่องจักรเต็มอายุการใช้งาน
-
ลดการเปลี่ยนอะไหล่ที่ไม่จำเป็น
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
-
เพิ่มความปลอดภัย
-
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อเสีย
-
ราคาของอุปกรณ์ ระบบ และผู้เชี่ยวชาญมีราคาสูง
-
ยังไม่สามารถยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรได้
4.Proactive maintenance
การซ่อมบำรุงแบบแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากลับมาซ้ำซาก “Fix it once, fix it right!” โดยการทำ root cause analysis (RCA) และ failure mode and effect analysis (FMEA)
ข้อดี
-
สามารถยืดอายุของเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น
-
ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น
-
ลดความรุนแรงของการเสียหาย
-
ลดค่าใช้จ่ายรวมในการซ่อมบำรุง
ข้อเสีย
-
ใช้เวลาในการตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรมากกว่าวิธีอื่น ๆ
-
ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมวิเคราะห์